ค้นหา

Custom Search

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

ถาม-ตอบ ไขข้อสงสัยภาค ก. ก.พ. ยุค AEC โดย อ.วันนรัตน์

เจาะลึกเรื่อง ภาค ก. ก.พ. ปี 2557 เป็นปีแรกที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการสอบเพื่อเตรียมบุคลากรให้พร้อมกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปลายปี 58 โดยเห็นได้ชัดจาการเพิ่มวิชาภาษาอังกฤษเข้ามา ก่อนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าข้อสอบจะเป็นแบบใด แต่เมื่อหลังจากการสอบได้ผ่านมาแล้ว ก็ได้เห็นแนวข้อสอบและทิศทางของข้อสอบชัดเจนขึ้น คำถามที่ตามมา..แล้วจะเตรียมตัวอย่างไร สำหรับท่านที่เคยสอบมาแล้วก็คงมองภาพรวมออก แต่สำหรับท่านที่ไม่เคยสอบงานราชการมาก่อนเลย ก็อาจจะช่วยทำให้เข้าใจ ภาค ก. ก.พ. ได้มากยิ่งขึ้น



[caption id="attachment_6916" align="alignnone" width="484"]ติวสอบ ภาค ก. ก.พ. ติวสอบ ภาค ก. ก.พ.[/caption]

ถาม-ตอบ ไขข้อสงสัย


ภาค ก. ก.พ. ยุค AEC


โดย อ.วันนรัตน์


ถาม ภาค ก. ก.พ. คืออะไร
ตอบ ภาค ก. คือวิชาความสามารถทั่วไป วิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นการจัดสอบ โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือนิยมเรียกกันว่า สำนักงาน ก.พ. โดยเมื่อสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดจะได้ใบรับรองการสอบผ่าน ซึ่งสามารถใช้ได้ตลอดไป จนกว่า ก.พ. จะเปลี่ยนเงื่อนไข




ถาม หลังจากสอบผ่านแล้วได้ใบ ภาค ก. ก.พ. จะเข้ารับราชการอย่างไร
ตอบ ท่านต้องนำใบภาค ก. ก.พ. ไปสมัครสอบ กรณีหน่วยงานระดับกระทรวง ระดับกรม หรือเทียบเท่า เปิดสอบ และสอบวิชาภาค ข. หรือความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ซึ่งจะเป็นวิชาตามสมรรถนะที่หน่วยงานนั้นๆ ต้องการ




ถาม ใบภาค ก. แบ่งออกเป็นกี่ลักษณะ
ตอบ 1. ใบภาค ก. สำหรับผู้จบ ปวช. หรือเทียบเท่า เพื่อนำไปใช้สอบภาค ข. ในหน่วยงานที่เปิดสอบระดับปฏิบัติงาน (ซี 1 เดิม)
2. ใบภาค ก. สำหรับผู้จบ ปวส., ปวท. อนุปริญญา หรือเทียบเท่า เพื่อนำไปใช้สอบภาค ข. ในหน่วยงานที่เปิดสอบระดับปฏิบัติงาน (ซี 2 เดิม)
3. ใบภาค ก. สำหรับผู้จบ ปริญญาตรี หรือเทียบเท่า เพื่อนำไปใช้สอบภาค ข. ในหน่วยงานที่เปิดสอบระดับปฏิบัติการ (ซี 3 เดิม)
4. ใบภาค ก. สำหรับผู้จบ ปริญญาโท หรือเทียบเท่า เพื่อนำไปใช้สอบภาค ข. ในหน่วยงานที่เปิดสอบระดับปฏิบัติการ (ซี 4 เดิม)

กรณีสอบผ่านภาค ก. ในระดับที่สูงกว่า สามารถนำไปใช้กับการสมัครสอบในระดับที่ต่ำกว่าได้ เช่น ท่านสอบได้ใบภาค ก. ระดับปริญญาโท และมีหน่วยงานเปิดสอบระดับปริญญาตรี ปวส. หรือ ปวช. ท่านสามารถใช้ใบภาค ก. ของ ปริญญาโทสมัคร พร้อมกับวุฒิการศึกษาที่ตรงระดับ และคุณสมบัติ ของหน่วยงานที่เปิดรับ

ตัวอย่าง นาย ก. จบ ปริญญาโทรัฐประสาสนศาสตร์ จบ ปริญญาตรีการบัญชี กรมบัญชีกลางเปิดสอบนักบัญชีระดับปริญญาตรี ท่านสามารถนำใบภาค ก. ปริญญาโท ยื่นพร้อมวุฒิการศึกษาปริญญาตรีการบัญชีได้

นาย ข. จบ ม.6 และมาเรียนต่อปริญญาตรีการบัญชี สอบภาค ก. ก.พ. ผ่านระดับปริญญาตรี กรมบัญชีกลางเปิดสอบเจ้าพนักงานบัญชีปฏิบัติงาน รับวุฒิผู้จบ ปวส. หรือ ปวท. ด้านบัญชี นาย ข. ไม่สามารถสมัครตำแหน่งนี้ได้ เนื่องจากจบ ม.6 มิได้มีวุฒิ ปวส. หรือ ปวท. ตามประกาศถึงแม้ใบภาค ก. จะอยู่ในระดับที่สูงกว่าเป็นต้น

ถาม เกณฑ์การตัดสินของ ก.พ. ในการสอบผ่าน มีหลักเกณฑ์อย่างไร
ตอบ แบ่งการตัดสินผลคะแนนออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 วิชาความสามารถทั่วไป และวิชาภาษาไทย โดยสรุปมีจำนวนข้อสอบ 60 ข้อ ท่านต้องทำให้ได้ 36 ข้อ (60%) จึงจะถือว่าผ่านส่วนนี้
ส่วนที่ 2 วิชาภาษาอังกฤษ โดยสรุปมีจำนวนข้อสอบ 25 ข้อ ท่าต้องทำให้ได้ 13 ข้อ (50%) จึงจะถือว่าผ่านส่วนนี้
* กฎกติกา
1. ผู้ได้ใบสอบผ่านภาค ก. ฉบับสมบูรณ์ ต้องผ่านเกณฑ์ทั้ง 2 ส่วน
2. ผู้สอบผ่านเฉพาะส่วนที่ 1 และสอบไม่ผ่านส่วนที่ 2 สามารถสอบแก้ตัวได้อีก 1 ครั้ง (ช่วงเวลาห่างจากวันประกาศผลสอบประมาณ 2 เดือน
3. ผู้สอบผ่านเฉพาะส่วนที่ 2 และสอบไม่ผ่านส่วนที่ 1 ไม่มีสิทธิสอบแก้ตัวส่วนที่ 1
4. ผู้สอบไม่ผ่านทั้ง 2 ส่วนเป็นเรื่องปกติ คือ สอบตก
ถาม การติวแล้วจะสอบผ่านหรือไม่
ตอบ เป็นคำถามแบบต้องการคำตอบกับเงินที่จ่ายไป ผมว่าทุกคนรู้ตัวเองว่าติวคืออะไร จะได้ผลมากน้อยแค่ไหนมาจากองค์ประกอบใหญ่ๆ 2 ส่วน คือ ตัวคุณกับตัวผู้สอน การยิงคำถามข้างต้นคุณกำลังถามองค์ประกอบตัวผู้สอน แต่คุณไม่ยอมที่จะยอมรับองค์ประกอบตัวคุณว่า จะมุ่งมั่นพยายามระดับไหน ทำให้บางครั้งก็มีกระแสว่าไม่จำเป็นต้องติว มันก็ถูกนะ บางคนอาจไม่ต้องติวเลย บางคนอาจตัองพึ่งการติว คุณพอจะเข้าใจไหม นิ้วคนเรา 5 นิ้วยาวสั้นไม่เท่ากัน คนที่อ่านหนังสือเองและสอบผ่าน คุณอาจจะเป็นนิ้วที่แข็งแรงและยาว เช่นนิ้วชี้ แต่คนที่พื้นฐานไม่ดี นิ้วสั้นและนิ้วไม่แข็งแรง เช่น นิ้วก้อย เขาก็เลือกมาสร้างความแข็งแรงด้วยการติว

พูดง่ายๆ การจะติวหรือไม่ติว การจะได้ผลหรือไม่ได้ผล มันเป็นนานาจิตตัง ไม่มีใครบังคับคุณ

ถาม การติวภาษาอังฤษจะทำให้สอบผ่านได้หรือ เพราะขอบเขตภาษาอังกฤษกว้างมาก
ตอบ ก็อีกนั่นแหล่ะการหาเหตุผลว่าไม่ต้องติว มั่นขึ้นอยู่กับการประมาณตนกับประเมินตน บางครั้งตอนผมสอนไม่อยากจะออกสำเนียงเวอร์ๆ ก็มีกระแสอีกตกลงคุณจะไปสอบสำเนียง หรือคุณจะไปสอบข้อเขียน ผมเคยติวนะแบบออกสำเนียงเต็มตัวไม่เห็นจะฟังทันกันเลย เช่น ภาษาไทย เรื่องข้อบกพร่องทางภาษาก็ออกสำเนียงแบบให้คนไทยรู้ได้ คือ ERROR ออกเสียงว่า "เออ-เร่อ" แต่สำเนียงจริงมันไม่ใช่แบบนั้นก็ยังอุตส่าห์มาคอมเม้นต์ มีการแนะนำด้วยนะว่าอ่านว่า "แอ-เร่อ" แน่ใจ ผมว่ามันอ่านว่า "อะ-ระ-เร่อ" แต่ออกเสียงเร็วๆ มากกว่านะ วันหลังรถยนต์หนึ่งเขียนว่า Nissan ผมจะออกเสียงให้ถูกว่า "นิส-แซน" ไม่อยากจะออกนิสสันแล้วเดียวผิด
ถามคนเก่งหน่อย VEGETABLE ที่แปลว่าผักออกเสียงอย่างไร

ตกลงจะให้ติวเพื่อไปสอบภาค ก. ก.พ. (ไม่มีสอบฟังสำเนียง) หรือจะให้ติวเพื่อไปสอบ TOEFL, IELTS เพราะต้องทดสอบการฟังสำเนียง

และสำหรับท่านที่มองหาวิธีการเตรียมสอบภาค ก. ก.พ. ไม่ว่าจะเป็นการสอบซ่อม หรือการเตรียมความพร้อมเพื่อสอบในปีถัดไป ฝากพิจารณาคอร์สติวภาค ก. ก.พ. ยุค AEC ของแอ๊คกรุ๊ปด้วยนะครับคลิกที่นี่ รายละเอียดคอร์สติว ภาค ก. ก.พ. ยุค AEC (สอบปกติ&ซ่อมภาษาอังกฤษ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ติวฟรีออนไลน์ by actsoi1.com

บทความที่ได้รับความนิยม

คลังบทความของบล็อก